วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


โกเบ็คลิ  เทเป  (Göbekli Tepe)




               เป็นชื่อเนินที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง Şanlıurfa  (เดิมชื่อ Urfa / Edessa)ในปี ค.ศ 1964 มีการสำรวจโดยมหาวิทยาลัยอิสตันบูและชิคาโก เนื่องจากว่าลักษณะของยอดเขาดูไม่น่าจะเกิดจากธรรมชาติ  โดยแต่เดิมที่นักสำรวจคาดการว่าอาจเป็นสุสานโบราณของชาว byzantine  เพราะมีแผ่นหินลักษณะเหมือนเครื่องหมายของหลุมฝั่งศพ ซึ่งจากการตรวจสอบอายุโดยใช้วิธีคาร์บอนเดทติงให้ผลว่า โกเบ็คลิ เทเป มีอายุราว 12000 ปี  หรือ อาจจะสร้างขึ้นในช่วงปี 10000 - 9000 ปี จัดว่าเป็นสิ่งก่อสร้างโดยฝีมือของคนของคนยุคหินกลาง  ( โดยเค้าจะแบ่งเป็น 3 ช่วงสำหรับยุคหิน คือ 1. ยุคหินเก่า 1,700,000-10,000 ปีก่อนปัจจุบัน 2. ยุคหินกลาง ยุคหินกลาง  10,000-5,000 ปี  และ 3 ยุคหินใหม่  5,000-2,000 ปี   )  ซึ่งผู้คนในยุคนี้เริ่มรู้จักทำเครื่องมือหินให้ปราณีตและรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผาแล้ว
การขุดสำรวจ โกเบ็คลิ  เทเปhttp://hist105-2010fall.blogspot.com

KLAUS SCHMIDT


                ในปี คศ  1994   นักโบราณคดี นำทีมโดย KLAUS SCHMIDT นักโบราณคดีชาวเยอรมัน  ได้ทำการสำรวจที่แห่งนี้และพบว่ามันไม่ใช่สุสานโบราณอย่างที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก เพราะหลังจากที่มีการขุดก็พบว่าลักษณะของที่แห่งนี้เป็นรูปวงแหวนอาคารทรงกลมที่มีกำแพล้อมวงเป็นวงซ้อนๆ กันหลายวง  แต่ละอาคารมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-30 เมตรและมีแผนฝังเหมือนกันคือเสารูปตัว T ปักเรียงเป็นวงกลมในแตละชั้นเสามีความสูง 4 เมตร ปักห่างในระยะเท่าๆกันตามผนังอาคารโดยเอียงข้างเข้าด้านใน จำนวนมากที่สุดคือ 8 ต้นในแต่ละวงโดยมีที่นั่งยาว ติดผนังระหว่างเสาแต่ละต้น

ภาพแสดงการก่อสร้าง
 http://science.nationalgeographic.com

ภาพแสดงวิธีการก่อสร้าง
ที่มา http://www.bermudaquest.com/




         ภายในอาคารชั้นในสุดมีเสาหินกลางห้องสองต้นลักษณะเดียวกันกับเสาด้านนอกแต่ใหญ๋กว่า
สูง 6 เมตร โดยการขุดค้นที่ผ่านมาพบอาคาร 4 อาคาร  แต่โดยการสำรวจโดยเรดาห์พบทั้งสิ้น
ประมาณ 20 อาคาร ( คาดว่าน่าจะขุดค้นกันไปอีกหลายปีเลยทีเดียว สำหรับสถานที่แห่งนี้) 
เสาหินรูปตัวที  ทำมาจากหินปุนตกผลึก โดยพบเหมืองที่ห่างไปประมาณ 100 เมตร ที่เค้ารู้ว่า
เสามาจากเหมืองแห่งนี้เพราะว่ายังพบเสาทียังไม่เสร็จ    สำหรับที่นี้ต้องขอบอกว่า สร้างความ
มหัศจรรย์ให้กับผู้ที่ค้นพบอย่างมาก เพราะต้องเข้าใจว่าในยุคนั้นมนุษย์มีเครืองมือที่ทำมาจากหิน
เท่านั้น กว่าจะตัดทำเสาเป็นรูปตัว T หรือแกะสลักได้ ไม่ใช่เรืองง่ายๆ เลย  โดยเค้าคาดการณ์กันว่าอาจจะต้องอาศัยแรงงาน อย่างน้อย 500 คนและมีจุดมุ่งหมาย โดยชมิดท์ เชื่อว่าที่นี่อาจจะเป็นที่ทำพิธี
เกียวกับความตาย แม้ว่าการขุดค้นยังไม่พบศพที่ถูกฝังก็ตาม โดยเค้าเชื่อว่าการสลักรูปสัตว์ที่เสารูป
ตัว T ก็เพือปกป้องวิญญาณของคนตาย  และที่นี่อาจจะเป็นทีชุมนุมเฉลิมฉลอง โดยเค้าคาดเดาจากที่นังติดผนัง นอกจากนี้ยังค้นพบกระดูกสัตว์ป่าจำนวนมาก โดยกระดูกที่พบแตก คล้ายกับการถูกทุบเพื่อนำไขกระดูก แต่อย่างไรก็ตามไม่ค้นพบอุปกรณ์ในการทำอาหาร

ภาพการวางเรียงกันของเสารูปตัว T และม้านั่งติดผนัง
http://maxlab.ca

                 ที่นี่้ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดหาอาหารเลี้ยงผู้คนที่มีจำนวนมากได้  แน่นอนว่า การล่าสัตว์หรือการเก็บของป่าไม่เพียงพอกับความต้องการ ตรงนี้ถือว่ามีความสำคัญเพราะจากเดิมที่มีความเชือกันว่าการรวมกลุ่มกัน  ลัทธิความเชื่อต่างๆ หรือการรู้จักสถาปัตยกรรม นั้นจะต้องเกิดภายหลังจากการที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก ล่าสัตว์เสียก่อน ( คือมนุษย์ต้องมีปัจจัยขั้นพื้นฐานคือกินอิ่มก่อนนั่นแหละ  แต่อิ่มมากไปก็อยากนอน ออกแนวขี้เกียจละเรา ^^!! ) ตรงนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความเชื่อในการพัฒนาของสังคมมนุษย์ เพราะที่นี้ได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันและมีระบบจัดการที่ดี ทำให้สร้างถาวรสถานที่ที่ยิ่งใหญ่อย่าง โกเบ็คลิ เทเปได้

เสาหินรูปตัว T ที่มีการแกะสลักรูปสัตว์ต่างๆ
http://hist105-2010fall.blogspot.com

เสาหินตัว T ที่มีการแกะสลักรูปสัตว์
http://hist105-2010fall.blogspot.com
               ชมิดคาดว่าที่นี่อาจจะเป็นลัทธิที่นับถือผีสางเทวดา โดยมีหมอผีเป็นผู้เชื่อมโยงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ทั้งอาจจะเป็นต้นแบบของลัทธิศาสนาในเมโสโปเตเมียในการต่อมา แต่ก็มีผู้เสนอในแนวคิดอื่นเช่น อาจจะเป็นลัทธิบูชาสัตว์ร้าย ต่างๆ ที่อยุ่ในงานแกะสลัก  และการบูชาเพื่อความอยู่รอดและความแน่นแฟ้นกันในชุมชน   อีกข้อสันนิษลานหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ว่ากันว่าที่แห่งนี้ อาจจะเป็นสวนอีเดน ในคัมภีร์ไบเบิ้ล  เพราะเชื่อกันว่า ดินแดนทีอุดมสมบูรณ์ตั้งอยู่ในจุดบรรจบของแม่น้ำสี่สาย  น่าจะเป็นดินแดนรูปเสี้ยววงเดือนอันอุดมสมบุรณ์ระหว่างลุ่มน้ำไทกรีส - ยูเฟรติส อู่อารยธรรม ซึ่งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้หรือเขตเมโสโปเตเมียมตอนบน ก็รวมอยู่ด้วย

                   ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นไรสำหรับ โกเบ็คลิ เทเป ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า ด้วยความมุ่งมั่น และศรัทธา ทำให้มนุษย์สามารถทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ได้เสมอ
           
          
แหล่งข้อมูล  หนังสือต่วยตูน ฉบับ453
                     http://en.wikipedia.org/wiki/G%C3%B6bekli_Tepe



  

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เสื้อผ้าการแต่งกายงจักรวรรดิออตโตมัน
(Ottoman Empire)  ค.ศ.1299–1923


เกิดนึกสงสัยด้วยความอยากรู้ของเราเอง  ว่าผู้คนสมัยนั้นเค้าแต่งกายยังไงเลยค้นข้อมูลการแต่งกาย
ก็เลยไปเจอข้อมูลมา


           สิ่งทอและการเย็บปักของจักรวรดิออโตมันมีอิทธิพลไม่เพียงแต่ในภูมิภาคที่เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตเท่านั้นแต่ยังแพร่หลายไปในพื้นทีต่างๆด้วย   โดยการทำไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ทำอาชีพนี้เท่านั้น ยังรวมไปถึงกลุ่มแม่บ้าน  เป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนผลิตออกมาซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างมากของตลาด

           นอกจากการขายภายในประเทศ ยังมีส่งออกไปขายยังแถบคาบสมุทรบอลข่าน (ดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป )  ฮังการี่ และทรานซิลเวเนีย


แสดงวิธีการทำลวดลายผ้า


 Kaftan 

           เป็นเสื้อติดกระดุมด้านหน้า หรือสวม ยาวไปจนถึงข้อเท้า  แขนเสื้อยาว โดยทำจากผ้าขนสัตว์แคชเมียร์, ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย  โดยอาจใช้ผ้าคาดเอวทับอีกที  สามารถบ่งบอกถึงฐานะของผู้ส่วมใส่ได้เป็นอย่างดี

Kaftan ของ Sultan Murad III (1574-1595)
เป็นรูปทิวลิปสีเงินขนาดใหญ่บนผ้าแพรสีแดง

Kaftan - เป็นของสุลตาน ใน ปี ค.ศ 16

KAFTAN  -  ในยุคกลางปี ค.ศ 16-17  ผ้านำเข้าจากอิตตาลี ลายทิวลิป

ลวดลายผ้า


ลวดลายผ้าแบบต่างๆ
ลวดลายผ้าแบบต่างๆ

ลวดลายผ้าแบบต่างๆ







การแต่งกายของผู้หญิงจักรวรรดิออโตมัน


ภาพถ่ายประมาณ ต้นปี ค.ศ 19   ที่มา  http://ngm.nationalgeographic.com/ngm/flashback/0210.html

การแต่งกายผู้หญิงชนชั้นสูง ในปี ค.ศ 1869
ที่มา 
http://www.photographium.com/turkish-lady-istanbul-1869


ภาพถ่าย การแต่งกายของผู้หญิงชนชั้นสูง ในจักรววรดิออโตมัน  ต้นปี ค.ศ 18
ที่มา
   http://www.flickr.com/photos/ssndr/7372023110/sizes/z/in/photostream/

ภาพวาด เด็กสาวชนชั้นสุง จักรวรรดิออโตมัน
 
by Lord Frederic Leighton (1830-1896)
. ที่มา  
http://www.flickr.com/photos/ssndr/7371853566/in/photostream/

ภาพวาดการแต่งกายของหญิงชนชั้นสุง ในปี ค.ศ 1784-1839
ที่มา http://digitalgallery.nypl.org







ชุดเจ้าสาว
     ชุดเจ้าสาวในเมืองต่างๆของประเทศตุรกี มีลักษณะที่คล้ายกันกับชุดที่เรียกว่า  'Kaftan ' ซี่งคล้ายคลึงกันกับชุดเจ้าสาวในอาเลปโปและดามัสกัสในซีเรีย  เช่นเดียวกับในเมืองปาเลสไตน์ในกรุงเยรูซาเล็มและจาฟฟา  และแม้ในขณะที่ไกลที่สุดเช่นที่เมืองโมร็อกโกและแอลจีเรีย เครื่องแต่งกายบริเวณคาบสมุทรบอลข่านและภาคใต้ของรัสเซียทีก็ได้พัฒนามาจากสไตล์นี้  ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในรูปแบบและลวดลาย  สามารถพบได้ที่ไกลออกไปในภาคเหนือของไนจีเรียและมอร์ทาเนีย  สำหรับตุรกีจะเรียกชุดแบบนี้่ว่า "Bindalli"  (meaning a thousand branches-hence the flower and branch motives)
ซึ่งทำจากผ้ากำมะหยี่

Ankara- ชุดเจ้าสาว ใน ค.ศ 19

Kutahya - ผ้าคลุมผมเจ้าสาว


Adapazari - ชุดเจ้าสาว


Izmir  - ชุดเจ้าสาว


การแต่งกายของทหารในยุคออโตมัน
แหล่งที่มา http://www.balkanhistory.com/tunisia.htm


การแต่งกายของทหารจักรวรรดิออโตมัน

การแต่งกายทหารจักรววรดิออโตมัน
  
แหล่งค้นคว้าข้อมูล
https://pinterest.com/didemdulger/ottoman-textile-kaftan/
http://olions.wordpress.com
http://www.algeria.com/forums/womens-corner/15661-turkish-traditional-bridalwear.html